วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คาเฟ อเมริกาโน







คาเฟ อเมริกาโน หรือเรียกง่ายๆว่า อเมริกาโน คือรูปแบบของกาแฟที่มาจากการเติมเอ็กเพรสโซลงในน้ำร้อน ทำให้มีรสเข้มเหมือนกาแฟจุ่มแต่มีรสชาติที่ต่างออกไป ความเข้มของอเมริกาโนมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับจำนวนช็อตที่ใส่ลงไป ลองแบล็ค ก็เป็นอเมริกาโนจำพวกหนึ่ง

มอคค่า (อังกฤษ: Cafe Mocha)






มอคค่า (อังกฤษ: Cafe Mocha) เป็นเครื่องดื่มกาแฟที่คล้ายกับกาแฟลาเต้คือมีเอสเพรสโซ่ 1/3 ส่วนและนมร้อน 2/3 ส่วน แต่แตกต่างกันที่มอคค่าจะมีส่วนผสมของช็อคโกแลตด้วย โดยมักจะใส่ในรูปของน้ำเชื่อมช็อคโกแลต เสิร์ฟได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็นใส่น้ำแข็ง มักมีวิปครีมปิดหน้า
มอคค่า อาจหมายถึงกาแฟ
อราบิก้าชนิดหนึ่ง ซึ่งปลูกอยู่บริเวณท่าเรือมอคค่าในประเทศเยเมน กาแฟมอคค่ามีสีและกลิ่นคล้ายชอคโกแลต (แม้ว่าจะไม่มีส่วนประกอบของชอคโกแลตในมอคค่าเลยก็ตาม) อันเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้กาแฟมอคค่าเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

ลาเต้ (ภาษาอิตาลี: Latte)







ลาเต้ (ภาษาอิตาลี: Latte) เป็นภาษาอิตาลีแปลว่านม ส่วนในประเทศอื่น จะหมายถึง กาแฟลาเต้ หรือเครื่องดื่มกาแฟที่เตรียมด้วยนมร้อน โดยการเทเอสเพรสโซ 1/3 ส่วน และนมร้อนอีก 2/3 ส่วน ลงในถ้วยพร้อมๆ กัน และจะหยอดโฟมนมหนาประมาณ 1 ซม. ทับข้างบน ในประเทศอิตาลี กาแฟลาเต้นี้รู้จักกันในชื่อของ "caffè e latte" ซึ่งหมายถึง กาแฟกับนม ซึ่งใกล้เคียงกับในภาษาฝรั่งเศส คำว่า "café au lait" กาแฟลาเต้เริ่มเป็นที่นิยมนอกประเทศอิตาลีในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980
ในการชงกาแฟลาเต้
บาริสต้า (หรือผู้ชงกาแฟที่ชำนาญงาน) จะใช้วิธีขยับข้อมือเล็กน้อยขณะที่รินนมและโฟมนมลงบนกาแฟ ทำให้เกิดลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า ลาเต้อาร์ต (latte art) หรือศิลปะฟองนมในถ้วยกาแฟ
ลาเต้ เป็นเอสเปรสโซผสมนมร้อน ปกติมักโปะข้างบนด้วยฟองนม ความเข้มข้นไม่มากเท่าคาปูชิโนเนื่องจากใส่นมเยอะกว่า (ลาเต้ เป็นภาษาอิตาลีแปลว่านม ในอิตาลีเรียกลาเต้ว่า Cafe’ latte หรือ caffelatte)

คาปูชิโน (cappuccino)





คาปูชิโน (cappuccino) เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มประเภทกาแฟซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิตาลี คาปูชิโนมีส่วนประกอบหลักคือ เอสเพรสโซ และ นม คำว่า Cappuccino เป็นภาษาอิตาเลียน ออกเสียงให้ถูกต้องว่า กัปปุชชิโน่
การชงคาปูชิโนโดยส่วนใหญ่มักมีอัตราส่วนของเอสเพรสโซ 1/3 ส่วน ผสมกับนมสตีม (นมร้อนผ่านไอน้ำ) 1/3 ส่วน และนมตีเป็นโฟมละเอียด 1/3 ส่วนลอยอยู่ด้านบน นอกจากนั้นอาจโรยหน้าด้วยผง
ซินนามอน หรือ ผงโกโก้เล็กน้อยตามความชอบ ส่วนผสมของคาปูชิโนต่างจากของลาเต้ มาเกียโต้ (latte macchiato) ซึ่งประกอบไปด้วยนมเป็นส่วนใหญ่และนมตีโฟมเพียงเล็กน้อย
ในประเทศอิตาลี ผู้คนมักดื่มคาปูชิโนเป็นอาหารเช้าโดยเฉพาะ โดยอาจมีขนมปังแผ่นหรือ
คุกกี้ประกอบ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าวิถีชีวิตของชาวอิตาลีมักไม่ค่อยรับประทานอาหารเช้าแบบเป็นกิจลักษณะ คาปูชิโนและขนมปังเบาๆ จึงเหมาะเป็นอาหารรองท้องสำหรับยามเช้า และด้วยเหตุนี้ทำให้ไม่ดื่มคาปูชิโนในช่วงอื่นของวัน แต่สำหรับต่างประเทศรวมถึงประเทศไทย การดื่มคาปูชิโน ดื่มได้ทุกเวลาโดยไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลก

เอสเปรสโซ (อังกฤษ: espresso)





เอสเปรสโซ (อังกฤษ: espresso) คือกาแฟที่มีรสแก่และเข้ม ซึ่งมีวิธีการชงโดยใช้แรงอัดไอน้ำหรือน้ำร้อนผ่านเมล็ดกาแฟคั่วที่บดละเอียด ที่มาของชื่อ เอสเปรสโซ มาจากคำภาษาอิตาลี "espresso" แปลว่า เร่งด่วน เอสเปรสโซเป็นกาแฟที่นิยมมากที่สุดในแถบประเทศยุโรปตอนใต้ โดยเฉพาะประเทศอิตาลีและฝรั่งเศส การสั่งกาแฟ "caffe" ในร้านโดยทั่วไปก็คือสั่งเอสเปรสโซ
ด้วยวิธีการชงแบบใช้แรงอัด ทำให้เอสเปรสโซมีรสชาติกาแฟซึ่งเข้มข้นและหนักแน่น ต่างจากกาแฟทั่ว ๆ ไปซึ่งชงแบบผ่านน้ำหยด และเพราะรสชาติเข้มข้นและหนักแน่นอันเป็นเอกลักษณ์นี้เอง ทำให้คอกาแฟดื่มเอสเปรสโซโดยไม่ปรุงด้วยน้ำตาลหรือนม และมักจะเสิร์ฟเป็นชอต (แก้วแบบจอก) เพื่อให้ปริมาณไม่มากจนเกินไป (ประมาณ 1-2 ออนซ์ หรือ 30-60มิลลิลิตร แตกต่างตาม พฤติกรรมการดื่ม ของแต่ละประเทศ) การสั่งเอสเปรสโซตามร้านกาแฟทั่วไป มักสั่งตามปริมาณเป็น "ซิงเกิ้ล" หรือ "ดับเบิ้ล" (ชอตเดียว หรือ สองชอต) เอสเปรสโซมีความไวสูงในการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เพื่อไม่ให้เสียรสชาติจึงควรดื่มตอนชงเสร็จใหม่ ๆ
ผงกาแฟที่ใช้ ขึ้นอยู่กับแต่ละระบบการชง ระบบการชงแบบแรงดันน้ำ หรือแรงอัด จะต้องใช้ผงละเอียด แต่ไม่ถึงกับเป็นแป้ง (ขนาดของไซด์ผงกาแฟที่บด จะแปรผันตาม ระยะเวลาที่ทำกาแฟ อาทิ เครื่องชงแบบ เอสเปรสโซ่ เวลามาตราฐานอยู่ที่ 18-30 วินาที ก็ต้องใช้ ผงละเอียด แต่หากเป็นการชง ลักษณะอื่นๆ เช่น ชงโดยที่ชงแบบเฟรนช์เพรส ก็ต้องบดให้หยาบขึ้นและระยะเวลาที่ชงก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ <ยิ่งหยาบยิ่งต้องใช้เวลานานขึ้นในการชง>)
ในการชงเอสเปรสโซ จะต้องควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อรสชาติ อาทิ เมล็ดกาแฟที่ใช้ (สมควรเป็นเมล็ดกาแฟที่คั่ว เก็บมาไม่เกิน 1 เดือน) ,การบดกาแฟ (ขนาดของผงกาแฟที่บด ต้องสัมพันธ์ กับเครื่องชงและระยะเวลาการไหล ของกาแฟ ขณะชง) , น้ำที่ใช้ชงกาแฟ (คุณภาพเป็นน้ำที่ใช้ บริโภค ไม่ควรใช้นำสะอาดบริสุทธิ์ จนเกินไป เพราะ นอกจากไม่ได้รับ สารอาหารที่มากับน้ำแล้วยังมีผลกระทบ ต่อรสชาติ ด้วย) , ระยะเวลาในการชง (ดังที่กล่าวไว้ ในข้างต้น หากใช้เวลา การชงเอสเปรสโซ่ตำกว่า 18 วินาที หรือ underextract แสดงว่า การแพคกาแฟ ต่อชอต ไม่แน่นพอ หรือ ปริมาณผงกาแฟในชอต มีน้อยเกินไป หรือ ขนาดผงกาแฟหยาบเกินไป หากการกลั่นกาแฟเอสเปรสโซ่ นานเกินกว่า 30 วินาที จะมีผลทำให้เอสเปรสโซ่ที่ได้ มีรสขม bitter ไม่เข้ม มีกลิ่นไหม้ burn จากการชงแบบเครื่องอัด ศัพท์ฝรั่งเรียก overextract)




กาแฟอาราบิก้า







ชื่อสามัญ : Arabica coffee


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coffea arabica L.


ลักษณะทรงพุ่ม : ไม้พุ่มเตี้ยกลม


วงศ์ : Rubiaceae


ถิ่นกำเนิด : ประเทศเอธิโอเปีย


ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก


ฤดูการออกดอก : ที่สวนไม้หอมฯ ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม - พฤษภาคม


เวลาที่ดอกหอม : หอมอ่อนตลอดวัน


การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด


ข้อดีของพันธุ์ไม้ : สามารถออกดอกได้ในพื้นที่ราบอย่างที่สวนไม้หอมของฝ่ายปฏิบัติการวิ จัยฯ ได้เมล็ดเมื่อนำมาคั่วและบดให้ละเอียดนำมาชงกับน้ำรับประทาน ได้ต้นพันธุ์ ที่จะซื้อปลูกราคาไม่แพง


ข้อแนะนำ : พื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟคือพื้นที่ร่มมีแสงแดดอ่อนประมาณ 50% หรือแทรกระหว่างต้นไม้อื่น กาแฟชนิดนี้เป็นกาแฟที่ปลูกในที่มี อากาศเย็น เช่น ทางภาคเหนือของประเทศไทย จึงจะให้ผลผลิตที่ดี กาแฟชนิดนี้ต้องการการปรับตัวในช่วงปีแรกเมื่อปลูกในที่ราบและอุณหภูมิค่อนข้างสูงอย่างที่สวนไม้หอมของฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ ดังนั้นจึงต้องดูแลในเรื่องแสงและน้ำเป็นพิเศษในช่วงปีแรก
การปลูกในที่มีแสงแดดจัดเกินไป ลักษณะต้นและใบจะไม่ค่อยสวยงาม การออกดอกมีมากแต่ขนาดและความสวยงามจะลดลง


ข้อมูลอื่นๆ
กาแฟอาราบิก้า (3%) กลิ่นหอมอร่อยแต่ไม่ค่อยขม เมื่อชงเป็นกาแฟราคาต่อแก้วประมาณ 20-50 บาท เป็นกาแฟที่เราเรียกกันว่า กาแฟสด ผู้รวบรวมเคยดื่มในช่วงที่ต้องขับรถยนต์ไกลๆ รสชาติดีมากแต่ออกฝาดลิ้นนิดๆ ดื่ม 1 แก้ว ตั้งแต่ตีสามขับรถไปถึงสามโมงเช้าก็ยังสดชื่นอยู่ แต่ไม่ควรดื่มบ่อยๆ โดยเฉพาะพวกคอกาแฟผงสำเร็จรูป เพราะจะทำให้ไม่อยากดื่มกาแฟผงสำเร็จรูปอีก มันคนละรสกันครับ

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติกาแฟ





เชื่อกันว่ากาแฟถูกค้นพบครั้งแรกโดยเด็กเลี้ยงแพะชาวอาบิสซีเนีย ที่ชื่อว่า คาลดี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 จากการสังเกตพบว่า แพะดูกระปรี้กระเปร่าขึ้นเมื่อกินเมล็ดกาแฟป่า จากเอธิโอเปีย กาแฟได้แพร่กระจายไปยังอียิปต์และเยเมน และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 กาแฟได้แร่ไปทั่วตะวันออกกลางทั้งหมด รวมทั้ง เปอร์เซีย ตุรกีและแอฟริกาเหนือในปี ค.ศ. 1583 เลโอนาร์ด เราวอล์ฟ แพทย์ชาวเยอรมัน ได้บรรยายถึงกาแฟหลังจากท่องเที่ยวในดินแดนตะวันออกใกล้เป็นเวลากว่าสิบปีไว้ว่าดังนี้:“ เครื่องดื่มที่มีสีดำเหมือนหมึก ใช้รักษาโรคภัยได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับท้อง ผู้ดื่มจะดื่มในตอนเช้า มันเป็นการนำน้ำและผลไม้จากไม้พุ่มที่เรียกว่า bunnu ” ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 16 กาแฟถูกปลูกโดยชาวอาหรับเท่านั้น ชาวอาหรับหวงแหนพันธุ์กาแฟมาก แต่ในที่สุดเมล็ดกาแฟก็ออกมาสู่โลกกว้าง เนื่องจากการค้าขายระหว่างเวนิซกับแอฟริกาเหนือ อียิปต์และตะวันออกกลางที่เจริญขึ้น ทำให้อิตาลีได้รับสินค้าใหม่ ๆ เข้ามา ซึ่งรวมไปถึงกาแฟด้วย หลังจากนั้น กาแฟก็ได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรป เนื่องจากได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องดื่มของคริสเตียนโดยสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ในปี ค.ศ. 1600 แม้ว่าจะมีการร้องเรียนให้ยกเลิก "เครื่องดื่มมุสลิม" ก็ตาม ร้านกาแฟแห่งแรกในทวีปยุโรปเปิดในอิตาลีในปี ค.ศ. 1645 ชาวดัตช์เป็นชนชาติแรกที่นำเข้ากาแฟเป็นจำนวนมาก และฝ่าฝืนข้อห้ามของอาหรับเกี่ยวกับการส่งออกพืชและเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่ว เมื่อ Pieter van den Broeck ลักลอบนำเข้ากาแฟจากเอเดนไปยังยุโรปในปี ค.ศ. 1616 ในภายหลังชาวดัตช์ยังได้นำไปปลูกในเกาะชวาและซีลอน ซึ่งผลผลิตกาแฟจากเกาะชวาสามารถส่งไปยังเนเธอร์แลนด์ได้ในปี ค.ศ. 1711 และด้วยความพยายามของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ทำให้กาแฟได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษเช่นเดียวกัน กาแฟเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1657 และเข้าสู่ประเทศออสเตรียและโปแลนด์ หลังจาก ยุทธการแห่งเวียนนา เมื่อปี ค.ศ. 1683 หลังจากที่ทหารสามารถยึดเสบียงของทหารออตโตมานเติร์กที่พ่ายแพ้ในการรบครั้งนั้นหลังจากนั้น กาแฟได้เข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือในช่วงของยุคอาณานิคม แต่ว่าไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับในทวีปยุโรป อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกัน ปริมาณความต้องการกาแฟได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนพวกพ่อค้ากักตุนสินค้าเอาไว้และปั่นราคาขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งบางส่วนเป็นผลมาจากการที่พ่อค้าชาวอังกฤษไม่สามารถนำเข้าชาได้มากนัก หลังจากสงครามปี 1812 ในช่วงที่อังกฤษงดการนำเข้าชาเป็นการชั่วคราว ชาวอเมริกันจึงหันมาดื่มกาแฟแทน และมีปริมาณความต้องการสูงมากในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาของเทคโนโลยีการต้มเหล้าทำให้กาแฟกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน